โรคภัยมันเอาร่างกายของพ่อไปแล้ว อย่าให้มันเอาใจ ของเราไปด้วย
เรื่องราวดีๆ
.........จากข้อเขียนของพิษณุ นิลกลัด
สัปดาห์สุดท้ายของปี 2548 ผมไปงานสวด และงานเผาศพ ผู้ชายวัย 81 ปี ที่ผมรู้จักเขา มายาวนาน 30 ปี ไม่ใช่ญาติ แต่สนิทนักรักใคร่เสมือนญาติ
ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วัน เขาสั่งลูกและภรรยา แบบคนไม่ครั่นคร้ามความตายว่าสวดสามวันแล้วเผา ไม่ต้องบอกใครให้ วุ่นวาย อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้ เพียงแต่เขาอยู่หัวแถว เลยต้องไปก่อน แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง สวดสามวันเผา
งานสวด 3 คืน มีคนฟังพระสวดคืนละ 14 คน คือ เมีย ลูก หลาน เขย สะใภ้ และผม ซึ่งเป็นคนนอก เป็นงานศพ ที่มีคนไปร่วมงาน น้อยที่สุด เท่าที่ผมเคยไปฟังสวด
วันเผามีเพิ่มเป็น 17 คน สามคนที่เพิ่ม เป็นเพื่อนบ้านที่เคยคุยด้วย เกือบทุกเย็นคนหนึ่ง อีกคนเป็นแม่ค้าล็อตเตอรี่ ที่เคยยืมเงินแล้วไม่มีสตังค์จ่าย เลยเอาล็อตเตอรี่ ทยอยผ่อนใช้หนี้แทนเงิน งวดละสองใบ และคนสุดท้ายเป็นหญิง ที่ผู้ตายเคยผูกปิ่นโต ทุกมื้อเย็น
ทั้งสามคนบอกว่า เกือบมาไม่ทันเผา เคราะห์ดีที่แวะไปเยี่ยม ที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่า เสียชีวิตไปแล้ว 3 วัน
หลังฌาปนกิจ พระกระซิบถาม เจ้าหน้าที่วัดว่า เจ้าของงาน จ่ายเงินค่าศาลาสวดพระอภิธรรมแล้วหรือยัง พระท่านคงไม่เคยเห็น งานศพที่มีคนน้อย แบบที่ผมก็รู้สึก ตั้งแต่สวดคืนแรก
จริงๆ แล้ว ผู้ตายเป็นคน ค่อนข้างมีสตังค์ ทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุในตำแหน่งหัวหน้าหน่วย
แต่ด้วยความที่รัก และศรัทธา อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ จึงดำเนินชีวิตแบบไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อน - แม้กระทั่งวันตาย
ผมสนิทกับเขา เพราะเขามีความฝันในวัยเด็ก อยากเป็นนักประพันธ์ แบบ "ไม้ เมืองเดิม" ที่เขาเคยนั่งเหลาดินสอ และวิ่งซื้อโอเลี้ยงให้
เมื่อตัวเองเป็นนักเขียนไม่ได้ พอมาเจอะผมที่เป็นนักข่าว ก็เลยถูกชะตา และให้ความเมตตา การมีโอกาสได้พูดได้คุย กับเขาตามวาระโอกาส ตลอด 30 ปี ทำให้ได้แง่คิดดีๆ มาใช้ในการดำรงชีวิต
วันหนึ่งเขารู้ว่าขโมย ยกชุดกอล์ฟของผม ไปสองชุด ราคา 4 แสนกว่าบาท เขาปลอบใจผมว่า "ของที่หาย เป็นของฟุ่มเฟือยของเรา แต่มันอาจเป็นของจำเป็น สำหรับลูกเมียครอบครัวเขา คิดซะว่าได้ทำบุญ จะได้ไม่ทุกข์"
เขามีวิธีคิด "เท่ๆ" แบบผมคิดไม่ได้ มากมาย
เป็นต้นว่า "สุขและทุกข์อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่า เราจะเลือกหยิบ เลือกคว้าอะไร"
คงเป็นเพราะเขาเลือกคว้า แต่ความสุข...อ่านต่อ
.........จากข้อเขียนของพิษณุ นิลกลัด
สัปดาห์สุดท้ายของปี 2548 ผมไปงานสวด และงานเผาศพ ผู้ชายวัย 81 ปี ที่ผมรู้จักเขา มายาวนาน 30 ปี ไม่ใช่ญาติ แต่สนิทนักรักใคร่เสมือนญาติ
ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วัน เขาสั่งลูกและภรรยา แบบคนไม่ครั่นคร้ามความตายว่าสวดสามวันแล้วเผา ไม่ต้องบอกใครให้ วุ่นวาย อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้ เพียงแต่เขาอยู่หัวแถว เลยต้องไปก่อน แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง สวดสามวันเผา
งานสวด 3 คืน มีคนฟังพระสวดคืนละ 14 คน คือ เมีย ลูก หลาน เขย สะใภ้ และผม ซึ่งเป็นคนนอก เป็นงานศพ ที่มีคนไปร่วมงาน น้อยที่สุด เท่าที่ผมเคยไปฟังสวด
วันเผามีเพิ่มเป็น 17 คน สามคนที่เพิ่ม เป็นเพื่อนบ้านที่เคยคุยด้วย เกือบทุกเย็นคนหนึ่ง อีกคนเป็นแม่ค้าล็อตเตอรี่ ที่เคยยืมเงินแล้วไม่มีสตังค์จ่าย เลยเอาล็อตเตอรี่ ทยอยผ่อนใช้หนี้แทนเงิน งวดละสองใบ และคนสุดท้ายเป็นหญิง ที่ผู้ตายเคยผูกปิ่นโต ทุกมื้อเย็น
ทั้งสามคนบอกว่า เกือบมาไม่ทันเผา เคราะห์ดีที่แวะไปเยี่ยม ที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่า เสียชีวิตไปแล้ว 3 วัน
หลังฌาปนกิจ พระกระซิบถาม เจ้าหน้าที่วัดว่า เจ้าของงาน จ่ายเงินค่าศาลาสวดพระอภิธรรมแล้วหรือยัง พระท่านคงไม่เคยเห็น งานศพที่มีคนน้อย แบบที่ผมก็รู้สึก ตั้งแต่สวดคืนแรก
จริงๆ แล้ว ผู้ตายเป็นคน ค่อนข้างมีสตังค์ ทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุในตำแหน่งหัวหน้าหน่วย
แต่ด้วยความที่รัก และศรัทธา อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ จึงดำเนินชีวิตแบบไม่ปรารถนาให้ใครเดือดร้อน - แม้กระทั่งวันตาย
ผมสนิทกับเขา เพราะเขามีความฝันในวัยเด็ก อยากเป็นนักประพันธ์ แบบ "ไม้ เมืองเดิม" ที่เขาเคยนั่งเหลาดินสอ และวิ่งซื้อโอเลี้ยงให้
เมื่อตัวเองเป็นนักเขียนไม่ได้ พอมาเจอะผมที่เป็นนักข่าว ก็เลยถูกชะตา และให้ความเมตตา การมีโอกาสได้พูดได้คุย กับเขาตามวาระโอกาส ตลอด 30 ปี ทำให้ได้แง่คิดดีๆ มาใช้ในการดำรงชีวิต
วันหนึ่งเขารู้ว่าขโมย ยกชุดกอล์ฟของผม ไปสองชุด ราคา 4 แสนกว่าบาท เขาปลอบใจผมว่า "ของที่หาย เป็นของฟุ่มเฟือยของเรา แต่มันอาจเป็นของจำเป็น สำหรับลูกเมียครอบครัวเขา คิดซะว่าได้ทำบุญ จะได้ไม่ทุกข์"
เขามีวิธีคิด "เท่ๆ" แบบผมคิดไม่ได้ มากมาย
เป็นต้นว่า "สุขและทุกข์อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่า เราจะเลือกหยิบ เลือกคว้าอะไร"
คงเป็นเพราะเขาเลือกคว้า แต่ความสุข...อ่านต่อ
No comments:
Post a Comment