Sunday, June 10, 2018

จำเป็นไหมที่ควรมีเครื่องตรวจ Cholestorol ไว้ใช้เอง แล้วแพงไหมเอ่ย!!!

ขอแชร์บทความของ ภ.ญ.นันทวดี พิทยาพิบูลพงศ์ที่เขียนเกี่ยวกับความจริง cholesterol ที่บ้างคนอาจจะไม่รู้

-Cholesterol เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย จึงเป็นเหตุผลให้ร่างกายต้องสร้างขึ้นมาใช้เอง แต่สร้างมาได้แค่ 70-80 % ของที่ต้องการใช้ในแต่ละวันเท่านั้น จำเป็นที่ตัองได้รับเพิ่มจากอาหาร นั่นก็คือไข่แดง และอาหารทะเล

-ทุกเซลล์ในร่างกายสร้าง Cholesterol ได้ แต่ตับจะเป็นอวัยวะที่สร้างได้มากที่สุด Cholesterol ที่สำคัญมี 2 ตัว คือ LDL (Low-density lipoprotein) ถือว่าเป็นตัวเลว และ HDL (High-density lipoprotein) จัดว่าเป็นตัวดี เมื่อร่างกายสร้าง Cholesterol ชนิด LDL ก็จะถูกปล่อยไปตามกระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ซ่อมผนังเซลล์ ซ่อมเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท ซ่อมสมอง นำไปสร้างฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนความเครียด และที่จัดว่า LDL เป็นตัวเลวก็เพราะถ้ามีมากก็จะไปอุดตันเส้นเลือดนั่นเอง ส่วน Cholesterol ชนิด HDL นั้นก็ถูกปล่อยไปตามกระแสเลือดด้วย แต่ HDL นั้นจะทำหน้าที่เปรียบเสมือน กทม.หรือเทศบาล ที่จะช่วยพา LDL ที่เกาะตามผนังเส้นเลือดและจากกระแสเลือดกลับมาที่ตับ เพื่อใช้ผลิตเป็นน้ำดี ใช้ย่อยไขมันโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง หลังจากนั้นน้ำย่อยไขมัน (lipase) จะมาย่อยต่อ เมื่อน้ำดีหมดหน้าที่แล้วก็จะถูกขับออกจากร่างกายไป ดังนั้น HDL จึงถือว่าเป็นตัวดี จำเป็นต้องมีมากด้วย เพื่อจะได้ช่วยขับ LDL ออกจากร่างกายให้ได้มาก จะได้ไม่อุดตันเส้นเลือดนั่นเอง

-HDL จะสูงได้ต้องมี 2 ปัจจัย คือ
1.ได้รับมาจากอาหาร จากไข่แดงและอาหารทะเล
2.มาจากการออกกำลังกาย เพราะจะกระตุ้นให้ตับสร้าง HDL สูงขึ้น และสร้าง LDL ต่ำ

-การที่ร่างกายเรามี Cholesterol LDL ที่เป็นตัวเลวสูงนั้น อย่าไปโทษไข่แดง และอาหารทะเล เพราะ Cholesterol นั้นเป็น wax มันจะเหนียว เราทานเข้าไปต้องย่อยก่อน และย่อยยาก จึงย่อยไม่หมด ส่วนหนึ่งจะถูกขับออกจากร่างกายไปพร้อมกับอุจจาระ จึงถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้ในปริมาณพอเหมาะ

-และการที่เรามี Cholesterol LDL สูงนั้น จริงๆ แล้วเกิดจากแป้งและน้ำตาล เช่น พวกเครื่องดื่มหวานๆ เย็น กาแฟเย็น ชาเย็น น้ำปั่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมหวาน พวกนี้ต่างหากที่ทำให้ LDL สูง ดูตัวอย่างได้จากผู้ที่เป็นเบาหวาน ปัจจุบันนี้คนเป็นเบาหวานกันมากขึ้น และเป็นกันตอนอายุน้อยๆ ด้วย เพราะคนยุคนี้ดื่มเครื่องดื่มหวานๆ และทานขนมกันมากเหลือเกิน เมื่อแป้งและน้ำตาลเข้าไปในร่างกายแล้ว จะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคส ก็จะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตฮอร์โมน insulin ออกมาเพื่อพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงาน และการที่เราทานแป้งกับน้ำตาลกันมาก ก็จะไปกระตุ้นตับอ่อนมาก บ่อยเข้าตับอ่อนก็จะล้า ผลิต insulin ออกมาได้ก็จริง แต่ไม่มีประสิทธิภาพ พาน้ำตาลเข้าเซลล์เผาผลาญเป็นพลังงานได้ไม่หมด น้ำตาลก็จะตกค้างในกระแสเลือด เกิดเบาหวานขึ้น และเมื่อตับอ่อนถูกกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ ก็ยิ่งผลิต insulin ที่ไม่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ น้ำตาลก็ยิ่งตกค้างในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานนานเข้าจึงมักมีน้ำตาลในเลือดสูงและ insulin ก็ยังสูงด้วย และการที่มี insulin สูงนี่แหละที่เป็นตัวปัญหา มันจะไปกระตุ้นให้ตับสร้าง Cholesterol LDL ที่เป็นตัวเลวสูงขึ้น แต่ HDL ที่เป็นตัวดีกลับต่ำลง ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานจึงมักมี Cholesterol LDL สูงตามมาด้วยเสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

-การที่จะลด Cholesterol นั้น จริงๆ แล้วควรลดการทานแป้งและน้ำตาลลง และเพิ่มโปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่) เพราะโปรตีนจะช่วยให้แป้งและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ ตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นน้อยลง ก็จะผลิต insulin มีประสิทธิภาพ ในปริมาณที่พอเหมาะ เมื่อ insulin ลดลง LDL ก็ลดลงมาโดยอัตโนมัติ จึงอาจพูดได้ว่า ทานไข่ช่วยลด Cholesterol LDL และเพิ่ม HDL ได้ จึงควรกลับมาทานไข่ได้วันละ 1-2 ฟองได้เลย

การจะลด Cholesterol LDL นั้นไม่ยาก ก็แค่เปลี่ยน habit ในการทานอาหาร ให้ลดแป้งและน้ำตาลลง ไม่ควรทานเครื่องดื่มหวานๆ แม้แต่น้ำผลไม้คั้นเองก็ไม่ควรดื่ม ให้ทานผลไม้พร้อมกาก และต้องเพิ่มโปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่) เท่านี้ก็จะลด Cholesterol LDL ได้แล้ว โดยไม่ต้องพึ่งยา

แล้วก็ไม่ควรใช้ยาลด Cholesterol เพราะตับทำหน้าที่ผลิต Cholesterol ยานั้นนอกจากกดตับให้สร้าง Cholesterol ลดลงแล้ว ยายังจะไปกดการทำงานของตับเกือบทุกอย่าง ตับทำหน้าที่หลายอย่าง แต่หน้าที่หลักคือเผาผลาญพลังงาน และขับสารพิษ ก็จะทำให้การเผาผลาญลดลง และสารพิษมีโอกาสตกค้างในร่างกายและตับมากขึ้น โอกาสเป็นมะเร็งก็จะมากขึ้นด้วย

-การทานไข่อาจทำให้ค่ารวม คือ Total Cholesterol เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นค่า HDL ต่างหากที่เพิ่มขึ้นมา ดังนั้นอย่าตรวจหาเฉพาะค่า Total Cholesterol อย่างเดียว ต้องตรวจทั้ง LDL และ HDL ด้วย และให้ดู ratio ของ Cholesterol LDL:HDL ควรน้อยกว่า 3 หรือ Total Cholesterol:HDL ต้องน้อยกว่า 5 ถือว่าเป็นปรกติ ไม่อันตรายเลยค่ะ

---------------------------------------------------------------------------------------

เห็นข้อดีข้อเสียของ HDL LDL Total Choleterol แล้ว ท่านคงเห็นด้วยที่จะมีเครื่องมือที่สะดวกใช้สามารถตรวจวัดไว้ใช้เองที่บ้านสำหรับตัวเองและคนที่ท่านรักเพื่อเป็นการป้องกันภัยร้ายต่างๆ อันเป็นผลต่อเนื่อง ดีกว่าที่จะเสียทั้งสุขภาพร่างกาย เสียเวลาแรมเดือน แรมปี พร้อมทั้งค่ารักษาพยาบาลอันแพงลิบ แถมต่อรองราคาก็ไม่ได้อีกต่างหาก

MultiCare Inเครื่องตรวจ คลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟรี แผ่นตรวจ คลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์อย่างละ25แผ่น

- เครื่องตรวจ คลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ด้วยตนเองในเครื่องเดียว
- เครื่องมัลติแคร์อิน ได้รับการพัฒนาและได้คิดค้นขึ้น เพื่อให้สามารถตรวจไขมันอย่างง่าย
- โดยเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งสามารถตรวจได้2อย่าง ดังนี้ ไขมันคลอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์*


- หมายเหตุ:*ควรงดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า ก่อนการตรวจไขมันไตรกลีเซอไรด์น้อย12ชั่วโมง


เพียง Click เดียว เพื่อสั่งซื้อที่ Lazada ห้าง Online ที่ใหญ่และน่าเชื่อถือที่สุด!!!  พร้อมรับประกัน สะดวกด้วยการส่งและเก็บเงินเมื่อของส่งถึงบ้าน ในราคาพิเศษ 9,999 บาท จากราคาเต็ม 12,500 บาท แถมฟรี แผ่นตรวจ คลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์อย่างละ 25 แผ่น




เมื่อต้องการสั่งแผ่นตรวจคลอเลสเตอรอล เพิ่มอีก 25 แผ่น ราคา 1,595 บาท จากราคาเดิม 1,850 บาท ก็สามารถได้เพิ่มเติมได้เรื่อยๆที่นี้....สะดวกสบายเพียง Click เดียวที่นี้!!!







เมื่อต้องการสั่งแผ่นตรวจไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มอีก 25 แผ่น ราคา 1,595 บาท จากราคาเดิม 1,850 บาท ก็สามารถได้เพิ่มเติมได้เรื่อยๆที่นี้....สะดวกสบายเพียง Click เดียวที่นี้!!!




ข้อมูลด้านเทคนิค
- มีปุ่มเลื่อนแถบทอสอบที่ใช้แล้ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- มีหน่วยบันทึกความจำ500ค่าพร้อมวันที่และเวลา
- ผลิตภัณฑ์จากประเทศอิตาลี
- ช่วงที่ตรวจวัดได้
คลอเลสเตอรอล130-400 mg/dl
ไตรกลีเซอไรด์50-500 mg/dl
- ใช้แบตเตอรี่ลิเที่ยมCR2032 2ก้อน
ตรวจได้ประมาณ1,000ครั้ง
- ขนาด: 97mm x 49mm x20.5 mm
- น้ำหนัก: 65g (รวมแบตเตอรี่)

คำเตือน
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เครื่องและไม่ควรใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจนี้ ในการวินิจฉัยรักษาโรคหรือสั่งยาด้วยตนเอง
- ก่อนใช้เครื่องตรวจระดับไขมันคลอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรอ่านฉลากเอกสารกำกับเครื่องและ ปฏิบัติตามทุกครั้ง
- หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยหรือต้องการทราบข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับระดับไขมันคลอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด โปรดติดต่อแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์


No comments:

Post a Comment