Thursday, July 5, 2018

28 สรรพคุณ ผักเชียงดาคือ ผักปราบเบาหวาน ราชินีฆ่าน้ำตาล!!!!





ผักเชียงดา

ผักเชียงดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnema inodorum (Lour.) Decne. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1],[4]
ผักเชียงดา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา เป็นต้น[3],[4],[6],[7],[10]

ลักษณะของผักเชียงดา

  • ต้นผักเชียงดา จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี เป็นผักพื้นบ้านที่ชาวเหนือในแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหาร[1],[2],[3] ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน และแอฟริกา[6]

สรรพคุณของผักเชียงดา

  1. ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเกาต์[2]
  2. ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ[2] และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย[6]
  3. หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน[7]
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร[4]
  5. ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย[8]
  1. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน[1],[4],[8] จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน[5]
  2. ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ[8]
  3. ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล[8]
  4. ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่า ผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง[10]
  5. ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง[1]
  6. ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)[9]
  7. ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ[2],[4]
  8. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)[4]
  9. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด[8]
  10. ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)[9]
  11. ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)[9]
  12. การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย[2],[6]
  13. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)[9]
  14. ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)[9]
  15. ช่วยขับระดูของสตรี[4]
  16. ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ[8]
  17. ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์[8]
  18. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)[9]
  19. ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค[9]
  20. ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน[4]
  21. หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)[4]
  22. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์[8]
  23. ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้[5]
หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้ง ให้ใช้รากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม[6]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเชียงดา

  • สารสำคัญ ได้แก่ สาร Vioflavonoid สารในกลุ่ม Carotenoid (ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก) มี Flavonoid, คาเทชิน, โปรแอนโทไซนานิดิน (Proanthocyanidin), มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ Curcumin, Furmeric, เบต้าแคโรทีน, และมีวิตามินซีมากกว่าแคร์รอต[1]
  • จากการศึกษาผลของผักเชียงดาในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่า การดื่มชาผักเชียงดาภายใน 15 นาทีหลังจากได้รับสารละลายกลูโคส จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่ไม่ได้ดื่มชาผักเชียงดา ส่วนฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของผักเชียงดาด้วย และเมื่อให้อาสาสมัครดื่มชาเป็นระยะเวลา 28 วัน ก็ไม่พบว่ามีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ แต่การให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 12 ราย ดื่มชาผักเชียงดาหลังอาหารวันละ 3 มื้อเพิ่มเติมจากยาเบาหวานที่ได้รับ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตลอดจนไม่กระทบต่อการทำงานของตับและไต และไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงแต่อย่างใด แต่การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดคือจำนวนของผู้ป่วยและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาที่มีค่อนข้างน้อย จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมและประเมินผลต่อไป[7]
  • ผักเชียงดามี Gymnemic acid (สกัดมาจากส่วนรากและใบของผักเชียงดา) โดยสารชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงเข้าไปจับกับตัวรับที่ลำไส้แทนโมเลกุลของกลูโคส และช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โดยมีรายงานว่า มีผู้ป่วย “บางราย” สามารถรับประทานผักเชียงดาเพียงอย่างเดียวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน เนื่องจากผักชนิดนี้มีฤทธิ์ฟื้นฟูเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ที่เป็นอวัยวะช่วยสร้างอินซูลินให้อยู่ในระดับปกติ[5]
  • จากการทดลองกับสุนัข กระต่าย และหนูที่ทำให้เป็นเบาหวาน พบว่ามีปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูตับอ่อน และยังพบว่า มีปริมาณของเบต้าเซลล์เพิ่มขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าผักเชียงดาสามารถช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อนได้[1] ส่วนการศึกษาในมหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดีย ได้ศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูทดลองที่ให้สารพิษที่ทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อนของหนู โดยพบว่า หนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของสารสกัดและผงแห้ง มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลล์ก็เพิ่มขึ้นด้วย[6]
  • มีการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้อินซูลิน 27 ราย โดยให้กินสารสกัดที่ทำให้บริสุทธิ์ขึ้น 400 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าปริมาณความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานลดลง และในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้อินซูลิน 22 ราย เมื่อให้สารสกัด 400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 18-20 เดือน ร่วมกับยารักษาเบาหวาน พบว่าปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลดลง โดยมีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ใน 22 ราย ที่สามารถหยุดให้ยาเบาหวานโดยใช้แต่สารสกัด Gymnema เพียงอย่างเดียว[1]
  • มีรายงานการทดลองใช้ต้น Gymnema sylvestre ซึ่งเป็นพืชในสกุลเดียวกันกับผักเชียงดาที่มีขึ้นอยู่ในประเทศอินเดีย โดยบริษัทในประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้ออกขายในรูปของยาชงเพื่อรักษาโรคเบาหวาน แต่จากรายงานการทดลองทั้งในคนและสัตว์ ได้แสดงให้เห็นว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถช่วยสร้างและซ่อมแซมเบต้าเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์อินซูลิน[1]
  • เมื่อปี พ.ศ.2546 นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูทดลอง ซึ่งนอกจากจะมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเพิ่มปริมาณของอินซูลินแล้ว ยังช่วยลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองที่เป็นหวานได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณของสารกลูต้าไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบว่า สารสกัดดังกล่าวนั้นมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า “ไกลเบนคลาไมด์” (glibenclamide)[10]

ประโยชน์ของผักเชียงดา

  1. จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของผักพื้นบ้านจำนวน 43 ชนิด ที่บริโภคกันในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และยังเป็นผักที่มีวิตามินอีสูงที่สุดอีกด้วย[7]
  2. ยอดผักเชียงดาสดจะมีรสมัน หากนำมาต้มให้สุกจะมีรสหอมหวาน ชาวบ้านทางภาคเหนือจึงนิยมปลูกผักเชียงดาไว้ตามริมรั้ว โดยนิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อน มารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ หรือนำมาทำแกง แกงส้ม แกงแค แกงเขียว แกงโฮะ แกงขนุน แกงเลียงกับปลาแห้ง หรือใส่ในต้มเลือดหมู แกงใส่ผักหวาน แกงรวมกับผักชะอม ผักกูด ผักเฮือด ฯลฯ หรือนำมาผัดน้ำมันหอย ทำผัดผักเชียงดา ผัดร่วมกับมะเขือ ฯลฯ แต่โดยปกติแล้วจะไม่ผัดผักเชียงดาล้วน ๆ เพราะจะมีรสขม (ผักเชียงดาในหน้าแล้งจะอร่อยกว่าในหน้าฝน เพราะผักเชียงดาในหน้าฝนจะมีรสเฝื่อน ไม่ค่อยอร่อย)[1],[3],[4],[5]
  3. คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา 100 กรัม ประกอบไปด้วย พลังงาน 60 แคลอรี, ความชื้น 82.9%, โปรตีน 5.4 กรัม, ไขมัน 1.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.2 กรัม, ใยอาหาร 2.5 กรัม, เถ้า 1.6 กรัม, วิตามินเอ 5,905 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 981 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.32 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 153 มิลลิกรัม, แคลเซียม 78 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม[3]
  4. ในปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรรวบรวมผักเชียงดามาปลูกในแปลงปลูกขนาดใหญ่ เพื่อเก็บยอดไว้ขายในเชิงการค้าแล้ว[1]
  5. ในปัจจุบันบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้เป็นชาชงสมุนไพร หรือในรูปแบบแคปซูลหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อรักษาเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมของกลูโคส[2] ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แคปซูลผักเชียงดาจะมีวางจำหน่ายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วไป โดยในรูปแบบผงแห้งจะมีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ต่ำกว่า 25% คือใน 1 แคปซูลส่วนใหญ่แล้วจะมีผงยาเชียงดาอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม[10]
ราคาพิเศษเพียง 300 บาท
สั่งซื้อ!!!

เครื่องดื่มสมุนไพรผสมชนิดแห้ง เชียงดา ตรีผลา
(เชียงดา มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก เจียวกู้หลาน ใบเตยหอม ลูกใต้ใบ)
ขนาด 60 กรัม 30 ซอง
  • เหมาะสำหรับช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  • เหมาะสำหรับช่วยควบคุณน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนักและมวลไขมันออกจากร่างกาย
  • เหมาะสำหรับช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด


  • เหมาะสำหรับช่วยขับสารพิษที่ตับ ล้างสารพิษ ไขมันเกาะตับ ลำไส้

วิธีรับประทาน: ใส่ชา 1 ซองลงในแก้ว เติมน้ำร้อน150-200 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ให้ชาละลายประมาณ 2 นาที  ใช้ช้อนนวดซองเบาๆ ช่วยให้สมุนไพรละลายในน้ำร้อนออกมาได้ง่ายขึ้น และเพิ่มรสชาติ หวาน หอม ร้อน ฝาด ขม กลมกล่อมครบรส ควรดื่มเมื่อท้องว่างหรือก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที


เลขที่ อย. 50-2-13158-2-0007

No comments:

Post a Comment