Tuesday, July 17, 2018

อันตรายจนถึงขั้นไตวาย จากโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (Urinary Tract Infections)!!!






กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภัยเงียบของสาวๆ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (Urinary Tract Infections) คือภาวะที่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งระบบทางเดินปัสสาวะประกอบไปด้วย

-ไต (kidney) อาหารเสริมบำรุงไต
-ท่อไต (ureter)
-กระเพาะปัสสาวะ (bladder)
-ท่อปัสสาวะ (urethra)

โดยระบบทางเดินปัสสาวะจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) คือ ไตและท่อไต และระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower urinary tract) คือ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงวัยเจริญพันธุ์ เพราะด้วยลักษณะทางกายภาพของเพศหญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคและติดเชื้อได้ง่ายกว่า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดเชื้อโรคได้ง่ายจากช่องคลอด อุจจาระ และจากการมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หมายถึงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ) ส่วนการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน หมายถึง กรวยไตอักเสบ

อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

รู้สึกเจ็บปวด แสบร้อนขณะที่ปัสสาวะ
ถ่ายปัสสาวะกะปริบกะปรอย ต้องปัสสาวะบ่อยครั้ง หรือจำเป็นต้องปัสสาวะในทันที ไม่สามารถอั้นได้
รู้สึกปัสสาวะไม่สุด
ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ
ปัสสาวะอาจมีสีขุ่น หรือมีเลือดปน
อาจมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย (กระเพาะปัสสาวะ) หรือบริเวณหัวหน่าว
อาจมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
อาจมีอาการไข้หรือหนาวสั่น
อาจมีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ในผู้สูงอายุอาจมีอาการสับสนหรือทำกิจกรรมลดลง
อาการของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือโรคกรวยไตอักเสบนั้น นอกจากจะมีอาการเหมือนกับที่พบในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น และมีอาการปวดเอวรวมอยู่ด้วย

สาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง ได้แก่

-การติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้หากมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร มาจากทางอุจจาระ หรือมาทางท่อปัสสาวะ หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะ จะเรียกว่ากระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystittis) และหากเชื้อลามเข้าท่อไต หรือกรวยไต จะทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบของท่อปัสสาวะนั้น เป็นเชื้อที่มาจากอุจจาระ เช่น อีโคไล (E.coli) เคล็บซิลลา (Klebsiella) ซูโดโมแนส (Pseudomonas) และเอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) โดยส่วนใหญ่ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนักที่ปกติมีจำนวนมากอยู่แล้ว จึงมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการฟักตัวและอักเสบขึ้น โดยมากจะเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ
-การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบเติบโตได้ง่ายในช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน
-เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เรียกย่อ ๆ ว่า โรคเอสทีไอ หรือโรคเอสทีดี (STI - Sexual Transmitted Infection หรือ STD - Sexual Transmitted Disease) เช่น โรคหนองใน เริม เป็นต้น ซึ่งมีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า “กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน” (Honeymoon Cystitis)
-การตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ทางเดินปัสสาวะจะขยายออก ทำให้เชื้อโรคมีโอกาสเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย ได้แก่

-ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือต่อมลูกหมากอักเสบ
-ผู้ที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ ก่อให้เกิดความหมักหมมของเชื้อโรคได้
-ผู้ที่ไม่ได้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์
-ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี


Beta Plu Kao เทียบเท่า D-Glucan เบต้า พลูคาว ดีกลูแคน อาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันโรคหวัด ยับยั้ง ไวรัส เอดส์ HIV1 ไข้หวัดใหญ H1N1 ลดอาการภูมิแพ้ โรคหอบหืด จากภูมิแพ้ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งลำไส้ บรรจุ 30 เม็ด...ศึกษาเพิ่มเติม!!!


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปัสสาวะอักเสบทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ได้แก่

-ผู้ที่เป็นนิ่วในไต และการกีดขวางต่าง ๆ ในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้ปัสสาวะขัดและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย
-ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ถือว่ามีความเสี่ยงมากในการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบเพราะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงทำให้เป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของไต
-ผู้ที่มีความผิดปกติทางกายภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดความผิดปกติภายหลัง เช่น เกิดเป็นแผลเป็นหลังจากการผ่าตัดบริเวณไต ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
-มีการใช้หลอดสวน ในผู้ป่วยที่ต้องมีการสวนปัสสาวะ (Urinary Catheterization) ซึ่งต้องมีการสอดใส่สายสวนที่เรียกว่า catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายปัสสาวะออกสู่ภายนอก ทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ซึ่งในการสวนปัสสาวะแต่ละครั้ง มีโอกาสนำเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะโดยตรง แพทย์จะพิจารณาทำให้เฉพาะในรายที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

การวินิจฉัยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ในกรณีที่ไม่ได้มีอาการซับซ้อน แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โดยที่ไม่ต้องรอการยืนยันเพิ่มเติมจากห้องวิจัย หากแพทย์วินัจฉัยว่ามีอาการของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบแน่นนอนแล้ว แพทย์จะให้เริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยไม่ต้องรอผลตรวจปัสสาวะ

แต่หากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่เป็นผลและมีการกลับมาเป็นซ้ำในทันที และมีอาการแทรกซ้อนจากปัจจัยอื่น ๆ หรือในบางรายที่มีการติดเชื้อที่ไต แพทย์อาจตรวจหาสาเหตุอื่น ดังนี้

-ตรวจหาสาเหตุของการกลับมาเป็นซ้ำ หรือการติดเชื้อเรื้อรัง
-ตรวจหาปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับไต
-วินิจฉัยปัญหาที่เกิดในเชิงกายภาพของทางเดินปัสสาวะที่มีโอกาสทำให้เป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
-ตรวจหาการติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ต่างออกไปจากปกติ
-ตรวจดูว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่

ในกรณีที่มีความซับซ้อน หรือยังหาข้อสรุปไม่ได้ ผู้ป่วยต้องรอคำยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจปัสสาวะ (Urinalysis หรือ UA) เช่น การวิเคราะห์จากค่าไนไตรท์ (Nitrite) หรือจากเม็ดเลือดขาว (Leukocytes) ด้วยการเก็บปัสสาวะไปตรวจและอ่านค่าต่าง ๆ จากกล้องจุลทรรศน์ ในบางรายอาจต้องเก็บปัสสาวะโดยการใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อให้ได้ปัสสาวะที่มีการปนเปื้อนน้อยที่สุด

อีกวิธีของการหาสาเหตุของการติดเชื้อ คือการเพาะเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ (Urine Culture) ช่วยให้สามารถบอกได้ว่าการติดเชื้อเกิดจากเชื้อชนิดใด โดยจะต้องรอผลอย่างน้อยประมาณ 48 ชั่วโมง มักใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะครั้งแรกแล้วไม่ดีขึ้น หรือทำในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต เป็นต้น

การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

วิธีรักษาหลักของโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะอักเสบ คือการใช้ยาปฏิชีวนะ และค้นหาสาเหตุร่วมเพื่อรักษาหรือปัจจัยเสี่ยงเพื่อแก้ไขป้องกัน ในกรณีที่ไม่ซับซ้อน หรือผู้ป่วยที่มีอาการไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว และไม่มีโรคประจำตัว แพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ป่วย เช่น ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) ยาดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ซัลฟาเมธ็อกซาโซล (Sulfamethoxazole) ยาเซฟาเลกซิน (Cefalexin หรือ Cephalexin)

โดยทั่วไปผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่จะให้รับประทานยาปฎิชีวนะและดูอาการ 5 วัน ส่วนในผู้ชายการติดเชื้ออาจเกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากด้วย ซึ่งอาจใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อย 7 วัน หลังจากได้รับยาแล้วส่วนใหญ่อาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 วัน แต่หากอาการยังคงอยู่ 2-3 วัน โดยที่ไม่ดีขึ้นเลย ควรรีบพบแพทย์ในทันที

นอกจากนั้น แพทย์อาจให้ยาแก้ปวดควบคู่กันไปในบางราย และผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้มาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้

อาการของโรคนั้นสามารถหายได้ภายในเวลาไม่กี่วันจากการรักษา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์ได้แนะนำไว้จนครบกำหนด ส่วนผู้ที่มีอาการมาก หรือมีอาการเรื้อรัง มีไข้สูง ปวดเอวมาก ควรจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด หรืออาจแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการให้รับประทานยาปฏิชีวนะในปริมาณยาที่ต่ำเป็นเวลา 6 เดือน และการรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการมีเพศสัมพันธ์ (ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุการเกิดโรคมากจากการมีเพศสัมพันธ์)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบที่พบบ่อย ได้แก่

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไต ทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ และหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ ส่วนในผู้ชาย เชื้ออาจลุกลามทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
ท่อปัสสาวะอักเสบ มีอาการแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นฝีรอบ ๆ บริเวณท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการมีเชื้อโรคลุกลามขึ้นไปถึง
กรวยไตอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด กลายเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ ในบางรายอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง มีการอักเสบโดยไม่ปรากฏอาการ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นไตวายได้
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในรายที่ขาดการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบสามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

-มีการติดเชื้อซ้ำ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
-เกิดความเสียหายที่ไตอย่างถาวร จากการติดเชื้อในไตทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง (กรวยไตอักเสบ)
-โอกาสเสี่ยงกับผู้ตั้งครรภ์ ในการให้กำเนิด ทำให้ทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีการคลอดก่อนกำหนด
-เกิดการตีบแคบที่ท่อปัสสาวะ โดยจะเกิดในผู้ชายที่มีการเกิดซ้ำของท่อปัสสาวะ อักเสบ
-เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะหากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะลามมาถึงไต จึงควรทานอาหารเสริมที่บำรุงตับ ไต ก่อนที่สายเกินแก้ได้...
-การป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

แครนเบอร์รี่ ลดการเกิดโรคกะเพาะปัสสาวะอักเสบได้ ช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ช่วยกระบวนการสร้างคอลลาเจน การเสื่อมของจอประสาทตา
ส่วนประกอบ Vistra Cranberry
ใน 1 แคปซูล Cranberry Extract 600 mg.
วิธีรับประทาน Vistra Cranberry
รับประทานวันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหาร
ข้อควรระวัง
ไม่ทานพร้อมกับยา Aspirin ให้ทาน Cranberry ห่างกับ Aspirin 3-4 ชั่วโมง

สามารถป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ไม่ยาก เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันใหม่ให้เหมาะสม ดังนี้

-ดื่มน้ำมาก ๆ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกายออกมาได้
-หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์
-ไม่ควรอั้นปัสสาวะนาน ๆ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะควรปัสสาวะในทันทีและปัสสาวะให้สุด
-ควรปัสสาวะทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้แบคทีเรียถูกขับออกจากร่างกาย หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หากกำลังรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
-ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดให้ถูกวิธี ด้วยการเช็ดจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง
-หากมีเพศสัมพันธ์ ควรใข้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีภาวะช่องคลอดแห้ง เพื่อป้องกันการฉีกขาด หรือหากเป็นแผล จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
สำหรับผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชายออก ให้หมั่นทำความสะอาดอย่างถูกต้องเป็นประจำ
-ควรใส่ชุดชั้นในที่สะอาดและทำจากเนื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น เช่น ผ้าฝ้าย ไม่ใส่กางเกงที่รัดรูปเกินไปหรือระบายอากาศยาก เช่น กางเกงยีนส์
-สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะกลับมาเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้การคุมกำเนิดแบบหมวกยางกั้นช่องคลอด เพราะเป็นที่สะสมของแบคทีเรีย ควรมองหาการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ
-ผู้หญิงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องคลอด เช่น สบู่ น้ำหอม หรือแป้ง ที่อาจมีสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
-ไม่ควรแช่น้ำในอ่างอาบน้ำนานเกิน 30 นาที

จาก www.pobpad.com

No comments:

Post a Comment